ทำไมถึงเป็นฮ่องกงฟุตหรือโรคน้ำกัดเท้า
โรคน้ำกัดเท้าคืออาการติดเชื้อราที่ผิวหนัง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคฮ่องกงฟุต แต่ไม่ได้เป็นที่เกิดเฉพาะกับชาวฮ่องกงเท่านั้น เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นคือไตรโคฟีตัน (Trichophyton) ซึ่งจะอาศัยอยู่บริเวณที่อุ่นและชื้น ดังนั้น ผิวหนังระหว่างนิ้วเท้าจึงเหมือนกับการเจริญเติบโตของเชื้อราชนิดนี้อย่างยิ่ง หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจทำให้เกิดผื่นคันในส่วนอื่นของร่างกายด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณขาหนีบ ซึ่งหากขาหนีบติดเชื้อรา เราจะเรียกการติดเชื้อรานี้ว่าดรคสังคัง โรคน้ำกัดเท้ามักจะเป็นๆหายๆ เพราะเชื้อราจะยังมีชีวิตอยู่ใต้เล็บเท้าและกลับมาเจริญเติบโตอีกครั้งเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม
โรคน้ำกัดเท้าเกิดจากอะไร
เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคน้ำกัดเท้าพบได้บนพื้น ในรองเท้า และเสื้อผ้า การสวมรองเท้าที่ระบายอากาศไม่ดีและถุงเท้าเปียกเหงื่อจะทำให้เท้ากลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อราที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ถึงแม้ว่าอาการของโรคน้ำกัดเท้าแค่ทำให้รู้สึกไม่สบาเนื้อไม่สบายตัวสำหรับบางคน แต่คุณอาจจะเป็นแผลซึ่งบางครั้งกลายเป็นการติดเชื้อร้ายแรงก็ได้
อาการของโรคน้ำกัดเท้าเป็นอย่างไร
อาการที่เด่นชัดคือ คัน เจ็บ และแสบร้อนที่เท้า ผิวอาจจะแตก ตกสะเก็ตและลอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผิวบริเวณง่ามเท้า บางครั้งอาจจะลามไปยังฝ่าเท้าด้วย และหากติดเชื้ออย่างรุนแรง คุณอาจจะมีเลือดออกนอกจากนี้ยังอาจเป้นแผลพุพองร่อมด้วย ในระยะต่อไปผิวระหว่างง่ามนิ้วเท้าจะกลายเป็นสีขาวและชื้น มีกลิ่นเหม็น มีของเหลวซึมเยิ้มออกมาจากแผล เล็บของคุณจะหนาขึ้น แตก และเปลี่ยนสีหากติดเชื้อรา
เนื่องจากโรคน้ำกัดเท้าทำให้ผิวหนังเป็นแผล ดังนั้น แบคทีเรียจะสามารถเข้าไปทำลายผิวหนังของคุณได้ การติดเชื้อแบคทีเรียประเถทนี้จะเป็นสาเหตุของอาการอักเสบที่เรียกว่าเซลล์เนื้อเยื่อักเสบและมักเกิดขึ้นบ่อยในกลุ่มผู้สุงอายุ ผู้ป่วยเบาหวานคนที่ขาบวมเรื้อรัง หรือผู้ที่เส้นเลือดถูกนำออกไปจากขา (เช่น ผู้ที่ผ่าตัดบายพาส) และคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
เคล็ดลับง่ายๆในการรักษาโรคน้ำกัดเท้า
1.ล้างเท้าให้สะอาดทุกวัน หลังจากล้างเท้าให้เช็ดผิวบริเวณนิ้วเท้าให้แห้งสนิท นี่ถือเป้นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด หลายคนชอบสวมถุงเท้าตอนที่เท้ายังไม่แห้งสนิท ห้ามทำแบบนั้นค่ะ เพราะจะทำให้ผิวหนังชื้นๆบริเวณง่ามนิ้วเท้าเหมาะกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างมาก
2.อย่าใช้ผ้าเช็ดร่วมกับคนอื่นในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าสาธารณะและควรซักผ้าเช็ดตัวบ่อยๆ
3.เปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน เชื้อราจะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็วในสะเก็ดผิวหนังที่ตกค้างอยู่ในถุงเท้าที่ยังไม่ได้ซัก ควรสวมถุงเท้าผ้าฝ้ายหรือถุงเท้าหนังแทนที่จะสวมถุงเท้าที่ทำจากไนลอนและพลาสติก ซึ่งทำให้เหงื่อออกได้มากกว่า
4.สวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าแตะพลาสติกในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าหรือห้องอาบน้ำสาธารณะเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่าเท้าสัมผัสกับพื้นที่อาจจะมีสะเก็ดผิวหนังที่ติดเชื้อของคนอื่น
5.เมื่ออยู่บ้าน ให้ถอดรองเท้าและถุงเท้าให้บ่อยที่สุดเพื่อระบายอากาศบริเวณเท้า
6.หากสงสัยว่าเป็นโรคน้ำกัดเท้า แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่เหมาะสมต่อไปควรไปหาหมอเมื่อไหร่
การรักษาโรคแต่เนิ่นๆ ช่วยให้วินิจฉัยโรคได้แม่นยำและป้องกันอาการแทรกซ้อน ในการวิจัยเฉพาะทางอาจจำเป็นต้องใช้การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์หรือเพาะเนื้อเยื่อจากผิวหนังเพื่อดูเชื้อรา หากผิวหนังแดง บวมขึ้น หรือมีเลือดออก หากอาการติดเชื้อไม่หายไปหรือหากเป็นโรคเบาหวานและสงสัยว่าเป้นโรคน้ำกัดเท้า ให้ไปพบแพทย์หากติดเชื้อแบคทีเรียอื่นร่วมด้วยอาจต้องทานยาปฏิชีวนะ
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โรงพยาบาลผิวหนัง อโศก เบอร์โทรศัพท์ : สาขาอโศก 02-2465111
สาขาปิ่นเกล้า 02-4345222
Line @asokeskinhospital